ประวัติความเป็นมา
จากอดีตสู่ปัจจุบัน กว่าจะมาเป็น “คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม”
วันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2512
จังหวัดเชียงรายได้เสนอเรื่องขอจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาต่ออธิบดีกรมการฝึกหัดครูโดยได้เสนอ พื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำหนองบัว ต.บ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย เป็นที่ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู
วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2515
นายสาโรจ บัวศรี อธิบดีกรมการฝึกหัดครูในขณะนั้นได้มีหนังสือแจ้งมายังผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ให้กรมการฝึกหัดครูได้พิจารณาว่าเห็นสมควรให้ตั้งสถานฝึกหัดครูตามเสนอ และให้รออนุมัติงบประมาณ ประจำปี2516 เพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป
วันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2516
มีการสถาปนาวิทยาลัยครูเชียงราย ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยได้เปิดอบรมเพื่อการศึกษาระหว่างปิดภาคเรียนในฤดูร้อน (อ.ส.ร.) ให้แก่ข้าราชการครูในจังหวัดเชียงรายและในพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีผู้อบรมจำนวน 1,500 คน
ซึ่งวิทยาลัยครูเชียงรายได้จัดการเรียนการสอนเป็นภาควิชา โดยมีภาควิชาอุตสาหกรรมศิลป์เป็นภาควิชาหนึ่งที่ได้เปิดการเรียนการสอนในขณะนั้น
วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2520
ได้มี พระราชกฤษฏีกายกฐานะวิทยาลัยครูเชียงราย ให้เป็นสถาบันการศึกษาที่สามารถเปิดการสอนได้ถึงระดับปริญญา โดยมีภาควิชาอุตสาหกรรมศิลป์ รับผิดชอบการเรียนการสอนในเรื่องการผลิตครู และบุคลากรทางช่างฝีมือ
เพื่อนำความรู้พัฒนาท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2528 ได้มีประกาศของทางกระทรวงศึกษาธิการให้แบ่งส่วนราชการ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับภารกิจการเรียนการสอน ให้กับวิทยาลัยครูเชียงราย คือ
- คณะวิชาครุศาสตร์
- คณะวิชาวิทยาการจัดการ
- คณะวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานชื่อใหม่แทนชื่อเดิม ” วิทยาลัยครูสถาบัน”
เป็น “สถาบันราชภัฏ” เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการผลิตบัณฑิต


วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2537
สภาการฝึกหัดครูได้มีการอนุมัติให้มีการจัดตั้ง
” คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ” ทั่วประเทศจำนวน 8 แห่ง คือ เชียงราย
กำแพงเพชร
สงขลา
ฉะเชิงเทรา
เลย
สุรินทร์
เพชรบุรี
เพชรบุรีวิทยาลงกรณ์
การอนุมัติดังกล่าว ส่งผลให้หลักสูตรการเรียนการสอนมีวิชาที่เป็นสาขาทางเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อให้ตรงกับปรัญชาและจุดมุ่งหมายวัตถุประสงค์ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมโดยตรง ตามความต้องการของท้องถิ่น

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่9
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าลงพระปรมาภิไธย
ในพระราชบัญญัติ
” มหาวิทยาลัยราชภัฏ “